ฝึกอ่านบทความ "ภาษาอังกฤษ" จาก วันสำคัญ "วันเข้าพรรษา"
ประวัติ วันเข้าพรรษา (The Buddhist Lent Day: The First Day of Rainy Season Retreat)
Buddhist Lent
The
commencement of the three-month Buddhist Lent, Known among Thais as
Khao Phansa, traditionally falls on the first day of the waxing moon of
the eighth lunar month. During this period, coinciding with the rainy
season, Buddhist monks and novices remain closeted in their particular
monasteries, discouraged from spending nights elsewhere.
The
custom of spending three months of the rainy season in a fixed place is a
ritual successfully observed since the time of the Lord Buddha. In
those day, however, villagers attributed young seedling damage at the
start of the planting season to unnecessary travel by monks. Realizing
that monks on pilgrimages could accidentally tread on young plants, the
Lord Buddha decreed that his followers spend three months of the rainy
season in permanent dwellings.
In cases of necessity, such as
taking care of sick monks or parents or conducting religious functions,
monks may travel and stay away from their monasteries during this
period. However, they are required to return within seven days.
To
observe Buddhist Lent, Buddhists usually perform merit making, giving
alms to monks, attending sermons and participating in candlelight
processions, They also strictly observe Buddhist ethics, especially on
holy days.
During the three-month annul “rain retreat,” monks
study more and teach those who have chosen this period to enter
monkhood. Laymen usually visit temples to offer monks food, clothing,
medicine, flower, joss sticks, Lenten candles and other offerings. Such
practices they consider highly meritorious.
In ancient times, the
number of flowers, joss sticks and small candles presented to a temple
was usually equal to the number of monks in that temple. Where there
were surplus candles, villagers tended to make numerous small candles
into large one for presenting to temples. The large candles being
stronger, with more light and longer lasting.
Buddhists believe
that offering candles to monks as a means of light will also brighten up
their future. These candles are known as Thian Phansa.
To make
the Buddhist Lent, a Candle Festival takes place in all parts of
Thailand. In the northeastern region, especially Ubon Ratchathani
Province, which celebrates its famous Buddhist Lenten Candle Procession
each year, the festival takes place on a grand scale.
วันเข้าพรรษา หมาย
ถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำที่
ไม่จาริกไปค้างแรมตามสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็น เป็นระยะเวลา ๓
เดือนในฤดูฝน คือตั้งแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑
ซึ่งวันเข้าพรรษาปีนี้ ตรงกับวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๕
ช่วงอธิษฐานจิต “ทำดี ละชั่ว”
โดยทั่วไปการจำพรรรษา หรือ การอธิษฐานอยู่ประจำที่เป็นเวลา ๓ เดือน จะมี ๒ ระยะ คือ
๑.“ปุ
ริมพรรษา” หรือ “เข้าพรรษาแรก” นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงวันขึ้น
๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (วันออกพรรษา) แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองหน
ก็จะเลื่อนไปเริ่มจำพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ หลัง
๒. “ปัจฉิมพรรษา” หรือ “เข้าพรรษาหลัง” จะเริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
ใน
ประเทศไทย
พระภิกษุส่วนใหญ่จะจำพรรษาในช่วงปุริมพรรษาหรือพรรษาแรกมากกว่าปัจฉิมพรรษา
หรือพรรษาหลัง
ยกเว้นพระภิกษุที่อาพาธ(ป่วย)หรือมีกิจจำเป็นจึงจะอธิษฐานจำพรรษาในช่วง
ปัจฉิมพรรษา ส่วนการที่มีเดือนแปดสองหน หรือปีอธิกมาส
ก็เพราะเป็นการนับทางจันทรคติ(วันขึ้น
วันแรม)ซึ่งแต่ละปีจะมีจำนวนวันน้อยกว่าการนับทางสุริยคติ(การนับวันตามแบบ
ปัจจุบัน) ทำให้ต้องเพิ่มเดือนในบางปีเพื่อชดเชยจำนวนวันที่หายไป
มิให้ปีทางจันทรคติและสุริยคติคลาดเคลื่อนกันไปมากความเป็นมาของวันเข้า
พรรษาเกิดขึ้น
วันเข้าพรรษา
เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์
พอถึงฤดูฝนพระภิกษุส่วนใหญ่ก็อยู่ประจำที่เช่นเดียวกับนักบวชนอกพุทธศาสนา
ที่มักถือเป็นประเพณีปฏิบัติอยู่จำพรรษามาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล
ปรากฏว่ามีพระภิกษุกลุ่มฉัพพัคคีย์พาบริวารจำนวน ๑,๕๐๐
รูปเที่ยวจาริกไปตามที่ต่างๆ
เนื่องจากตอนต้นพุทธกาลยังไม่มีพุทธานุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษา
ทำให้ชาวบ้านพากันติเตียนถึงการจาริกของท่านเพราะไปเหยียบข้าวกล้าในนาเสีย
หาย เมื่อรู้ไปถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์
ตรัสถามจนได้ความจริง แล้วทรงบัญญัติให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา เป็นเวลา ๓
เดือนในฤดูฝน
อย่าง
ไรก็ดี หนังสือ “วันเข้าพรรษา” ที่จัดพิมพ์โดย
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้กล่าวไว้ว่า
ในกรณีที่มีกิจจำเป็น
พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอนุญาตให้พระภิกษุไปค้างคืนที่อื่นได้คราวละไม่เกิน ๗
วัน โดยไม่ถือว่าอาบัติ เรียกว่าเป็นเหตุพิเศษหรือ “สัตตาหกรณียกิจ”
ซึ่งมีอยู่ ๔ ประการคือ
๑.เพื่อนสหธรรมิก (ผู้มีธรรมร่วมกัน)
ทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขามานา(นางผู้กำลังศึกษา /สามเณรีผู้มีอายุ
๑๘ปีและอีก ๒ ปีจะครบบวชเป็นภิกษุณี) สามเณร สามเณรี
หรือบิดามารดาป่วยไปเพื่อพยาบาลได้
๒.ไปเพื่อยับยั้งเพื่อนสหธรรมิกที่อยากสึก มิให้สึกได้
๓.ไปเพื่อกิจของสงฆ์ เช่น หาอุปกรณ์ซ่อมกุฏิ วิหารที่ชำรุดทรุดโทรมได้
๔.ไปเพื่อฉลองศรัทธาทายกที่เขาส่งตัวแทนมานิมนต์ไปร่วมบำเพ็ญบุญได้
ประวัติโดยย่อ ของ วันเข้าพรรษา
นอกจากนั้น วันเข้าพรรษา
ยังยกเว้นสำหรับพระภิกษุที่ประสบเหตุดังต่อไปนี้
แม้จะเป็นระหว่างพรรษาก็สามารถหลีกไปที่อื่นได้โดยไม่อาบัติ แต่ขาดพรรษา
คือ ถูกสัตว์ร้ายรบกวนหรือเบียดเบียน ถูกงูรบกวนหรือขบกัด
ถูกโจรเบียดเบียนหรือปล้น ทุบตี ถูกปีศาจรบกวน เข้าสิงหรือฆ่า
ชาวบ้านที่ให้ความอุปถัมภ์ไม่สามารถอุปถัมภ์ได้ต่อไปเพราะย้ายถิ่น
ฐานไปที่อื่น หรือเสนาสนะของภิกษุถูกไฟไหม้น้ำท่วม หรือมีผู้จะพยายามทำร้าย
พระภิกษุสามารถหลีกไปอยู่ที่อื่นระหว่างพรรษาได้
วันเข้าพรรษานอก
จากจะเป็นช่วงที่พระภิกษุอยู่ประจำที่ดังกล่าวแล้ว
ยังก่อให้เกิดประเพณีสำคัญขึ้นอีก ๒ ประเพณีคือ ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน
และประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน
เกิดขึ้นโดยมีเรื่องเล่าว่า ในสมัยพุทธกาล ครั้งหนึ่งนางวิสาขา
มหาอุบาสิกาต้องการจะนิมนต์พระภิกษุไปฉันภัตตาหารที่บ้าน
จึงให้หญิง
รับใช้ไปพระวิหารเชตวันเพื่อนิมนต์พระ
ปรากฏว่านางไปเห็นพระภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนอยู่
ก็กลับมารายงานด้วยความเข้าใจผิดว่าไม่พบพระ เห็นแต่พวกชีเปลือย
นางวิสาขาก็รู้ด้วยปัญญาว่าคงเป็นพระอาบน้ำฝนอยู่ ดังนั้น
นางจึงได้ทูลขอพรจากพระพุทธเจ้า
ขอถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระภิกษุและภิกษุณีเป็นประจำแต่นั้นมา
จึงเกิดเป็นประเพณีที่ชาวพุทธปฏิบัติสืบต่อมาจนทุกวันนี้ และกล่าวกันว่า
ผู้ที่ถวายผ้าอาบน้ำฝนจะได้รับอานิสงส์เหมือนการถวายผ้าอื่นๆตามนัยที่พระ
พุทธเจ้าตรัสไว้ คือ ทำให้เป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส สวยงาม
ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีความสะอาดผ่องใสทั้งกายและใจ
ส่วนประเพณีแห่เทียนพรรษา เกิดจากความจำเป็นที่ว่าสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้เช่นปัจจุบัน
ดังนั้น เมื่อพระภิกษุอยู่รวมกันมากๆเพื่อปฏิบัติกิจวัตร เช่น
การสวดมนต์ตอนเช้ามืดและพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรม การบูชาพระรัตนตรัย
ฯลฯ จำเป็นต้องใช้แสงสว่างจากเทียน ดังนั้น
ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันนำเทียนมาถวาย
ซึ่งช่วงต้นก็คงจะถวายเป็นเทียนเล็กๆธรรมดา
ครั้นต่อมาก็ได้มีการมัดเทียนเล็กๆมารวมกันเป็นต้น
คล้ายต้นกล้วยหรือลำไม้ไผ่ แล้วติดกับฐาน ที่เรียกกันว่า ต้นเทียน หรือ
ต้นเทียนพรรษา
และก็วิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนเป็นเทียนพรรษาอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
กล่าวกันว่า "เทียนพรรษา" เริ่ม
มาจากผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งนับถือวัว
ที่เป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตาย
ก็จะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระเป็นเจ้าที่ตนเคารพ
แต่ชาวพุทธจะทำเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย โดยเอามาจากรังผึ้งร้าง
ต้มเอาขี้ผึ้งมาฟั่นเป็นเทียนเล็กๆเพื่อจุดบูชาพระ
และได้ยึดเป็นประเพณีที่จะนำเทียนไปถวายพระภิกษุในช่วงเข้าพรรรษา
เพื่อปรารถนาให้ตนเองมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดดุจดังแสงสว่างของดวงเทียน
อนึ่ง
การที่พระภิกษุจำนวนมากอยู่จำพรรษาถึง ๓ เดือนนี้
นับเป็นโอกาสเหมาะที่จะได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย
และประพฤติปฏิบัติธรรมกับพระเถระที่เป็นอุปัชาย์อาจารย์อย่างเต็มที่
ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้ไปบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร
รักษาศีล สวดมนต์ ฟังธรรม เจริญภาวนา ตลอดจนไปศึกษาหาความรู้กับพระภิกษุ
ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นประเพณีนิยมที่จะให้ลูกหลานไปบวชเรียนในช่วงเข้าพรรษา
เพื่อให้ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และได้ฝึกฝนตนเอง
สำหรับ
ปัจจุบัน
ได้มีพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยที่ถือเอา วันเข้าพรรษา เป็นวันสำรวจพฤติกรรม
ของตนที่ผ่านมา และตั้งจิตอธิษฐานที่จะลด ละ เลิกสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ เช่น
เลิกเหล้า อดบุหรี่ การพูดจาหยาบคาย ฯลฯ ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ๓ เดือน
โดยใช้วันนี้เป็นวันเริ่มต้นในการกระทำดี
ซึ่งก็นับว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอสำหรับความตั้งใจสร้างเสริม
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้น อันมีอานิสงส์ทำให้ตนเอง
ครอบครัวและสังคมเกิดความสุข สงบร่มเย็น
เข้าร่วม หล่อเทียนพรรษา ได้ที่นี่ http://season.sanook.com/kaopansa/
สนับสนุนข้อมูล วันเข้าพรรษา โดย : http://campus.sanook.com/953718/
tagin : บทความภาษาอังกฤษ, ภาษาอังกฤษ, วันเข้าพรรษา, เทียนพรรษา, ฟังวิทยุออนไลน์
ดีมากเลยครับ
ตอบลบขอบคุณสำหรับกำลังใจจร้า
ตอบลบ